หมวดหมู่: บทวิเคราะห์
ASP
บล.เอเซีย พลัส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
 
กลยุทธ์การลงทุน
IMF เตรียมตัด GDP Growth โลกอีกครั้ง ซึ่งน่าจะเป็นการปรับลด สหรัฐและจีนเป็นหลัก ซึ่งจะยิ่งกดดันราคาน้ำมันดิบโลกลงแตะ 50 เหรียญฯ ทำให้โอกาสการขึ้นดอกเบี้ยสหรัฐในปี 2562 ลดน้อยลง และหนุนให้ผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ-ไทย เข้าใกล้กัน น่าจะหนุน Fund Flow ไหลกลับ ด้วยดัชนีปัจจุบันมี  P/E ปี 2562 ต่ำเพียง 14.3 เท่า น่าสนใจ กลยุทธ์ยังเน้น Domestic Play   เลือก BJC(FV@B61) และ WHA(This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.) เป็น Top picks
 
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทยวานนี้ ….SET Index ปิดหลุดแนวรับ 1585 จุด 
วานนี้ SET Index ปรับตัวลงต่อเนื่องอีก 18.29 จุด  หรือ -1.14% ปิดตลาดที่ระดับ 1583.19 จุด ทำให้ตลอด 4 วันทำการที่ผ่านมาดัชนีปรับฐานลงลึกกว่า 51.7 จุด ซึ่งแรงกดดันยังมาจากปัจจัยเดิมจากต่างประเทศเป็นหลัก ทั้งความกังวลเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว กดดันราคาน้ำมันที่อ่อนตัวลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งวานนี้เห็นแรงขายหุ้นกลุ่มพลังงานปิดตลาดแดนลบเป็นส่วนใหญ่โดยเฉพาะหุ้น  PTTEP 5.7% PTT ลดลง 1.6% PTTGC ลดลง 4.6% ตามด้วยการย่อตัวของหุ้นขนาดใหญ๋ทั้ง SCC,  AOT และ BDMS ส่วนค้าปลีก CPALL BJC รีบาวด์กลับมาปิดแดนบวก รวมทั้งหุ้นที่ถูกคัดเข้าคำนวณ SET50อย่าง  WHA และ GULF ปรับตัวขึ้นสวนทางตลาดฯ
แนวโน้มตลาดฯ วันนี้คาดน่าจะเห็นการฟื้นตัวของดัชนี หลังจากทำจุดต่ำสุด 1580 จุด โดยยังถูกกดดันจากปัจจัยเดิมๆ โดยเฉพาะความกังวลต่อเศรษฐกิจโลก จากสงครามการค้า และตลาดน่าจะรอผลการประชุม FED ที่ประเมินว่าการประชุมรอบนี้น่าจะขึ้นดอกเบี้ย 0.25% และหลังจากนี้จะค่อย ๆ ชะลอการขึ้นดอกเบี้ย และน่าจะหยุดขึ้นดอกเบี้ยกลางปี 2562 ซึ่งจะทำให้ส่วนต่างผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวของไทย-สหรัฐ เริ่มใกล้กัน ซึ่งน่าจะหนุนให้เงินบาทและเอเชีย เริ่มมีเสถียรภาพ และจะทำให้แรงขายต่างชาติลดลง พร้อมกับกลับมาซื้อรอบใหม่  ณ จุดนี้ จึงเป็นโอกาสสะสมหุ้นไทย  
IMF มีโอกาสปรับลด GDP Growth อีกรอบ 
ตลาดหุ้นทั่วโลกยังปรับฐานลงต่อเนื่องตั้งแต่กลางปี เนื่องจากกังวลต่อเศรษฐกิจโลกชะลอตัวจากสงครามการค้าจีน สหรัฐ แม้จะมีการพักรบชั่วคราวเป็นเวลา 3 เดือน การเจรจารอบใหม่จะเกิดขึ้นอีกครั้งในเดือน มี.ค. 2562 แต่คาดว่าบรรยากาศการพูดคุยน่าจะผ่อนคลายลง  เพราะดัชนีชี้นำเศรษฐกิจของสหรัฐและจีน ส่งสัญญาณชะลอตัวชัดเจน ตั้งแต่เดือน เม.ย. 2561 เป็นต้นมา และเมื่อเผชิญกับสงครามการค้ายิ่งเป็นการซ้ำเติม  กดดันการค้าระหว่างประเทศ ทั้งจีนและสหรัฐ ในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา และส่งผลให้ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจหลักของจีน ทั้งดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรม และยอดค้าปลีก ในเดือน  พ.ย.  ขยายตัวต่ำสุดในรอบ 2 ปี 11 เดือน และต่ำสุดในรอบ 15 ปี 6 เดือน) ตามลำดับ เช่นเดียวกับสหรัฐ  ดัชนี PMI ภาคการผลิต  ต่ำสุดในรอบ 1 ปี 1 เดือน และยอดค้าปลีกต่ำสุดในรอบ 2 เดือน   
ล่าสุด  IMF เปิดเผยว่ามีโอกาสที่จะปรับลด GDP Growth โลกลงอีกครั้งในการประชุมครั้งแรกของปี 2562  เดือน ม.ค. แต่ คาดว่า  จะปรับลดฝั่งประเทศพัฒนาแล้ว  โดยรอบล่าสุด เดือน ต.ค. IMF ได้ปรับลดมูลค่าการค้าโลก(Trade Volume Growth) ลดเหลือ 4.2% ในปี 2561 จากเดิม 4.8% ส่วนในปี 2562 ปรับลดเหลือ 4.0% จากเดิม 4.5% พร้อมกับปรับลด GDP Growth โลกในปี 2561-2562 ลงเหลือ 3.7% เท่ากัน จากเดิมคาดไว้ที่ 3.9% ในทั้ง 2 ปี ซึ่งส่วนใหญ่จะปรับลดประเทศในแถบเอเซีย เป็นหลัก  ซึ่งน่าจะเป็น Sentiment เชิงลบต่อตลาดหุ้น 
 
 
รอบนี้ Fed ขึ้นดอกเบี้ย 0.25% แต่น่าจะหยุดขึ้นราวกลางปี 2562
การประชุม Fed  วันที่ 18-19 ธ.ค. น่าจะทราบผลเช้าวันที่ 20 ตามเวลาไทย ซึ่งตลาดคาดจะขึ้นดอกเบี้ยฯราว 0.25% เป็น  2.5%  แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อสหรัฐ ชะลอลงจากสูงสุดในเดือน ก.ค. ที่ 2.9% และล่าสุดเดือน พ.ย. อยู่ที่  2.2% เพื่อรองรับการลดดอกเบี้ยในอนาคต กรณีเศรษฐกิจโลกชะลอตัว   แต่อย่างไรก็ตามคาดว่าใน ปี 2562 สหรัฐจะขึ้นดอกเบี้ยได้อีกไม่มากคือ 1-2 ครั้ง หรือดอกเบี้ยนโยบายสูงสุดไม่เกิน 3% หากเงินเฟ้อยังคงชะลอตัวลงต่ำกว่า 2.2% ซึ่งน่าจะทำให้ Dollar index ชะลอการแข็งค่า  (หลังจากแข็งค่าราว 5.44% จากต้นปี 2561 – ปัจจุบัน)  ซึ่งน่าจะส่งผลให้ค่าเงินในภูมิภาคเอเชีย เริ่มมีเสถียรภาพ หรือหยุดการอ่อนค่าในบางประเทศ อาทิ ริงกิตมาเลเซีย และเงินบาท    
และหากพิจารณาผลตอบแทนพันธบัตร 10 ปี ของสหรัฐ- ไทย ที่ถ่างออกในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา  โดยดอกเบี้ยสหรัฐสูงกว่าของไทยในช่วง ม.ค. 2561 – พ.ค. 2561 แต่เริ่มอ่อนมาใกล้ของไทยช่วง มิ.ย. – ก.ย. และช่วง พ.ย. เป็นต้นมา (ดังภาพ) ซึ่งแตกต่างจากประเทศเพื่อนบ้าน ที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลประเทศเพื่อนบ้านยังสูงกว่าของสหรัฐ  เพราะส่วนใหญ่ได้ขึ้นดอกเบี้ยนโยบายตลอดปีนี้คือ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และมาเลเซีย เป็นต้น ยกเว้นไทยที่ยังไม่เคยขึ้นดอกเบี้ยนโยบายในปีนี้  และในการประชุมของ กนง. วันนี้ แม้คาด กนง. จะยืนดอกเบี้ยที่ 1.5% แต่มีโอกาสขึ้นดอกเบี้ย  ราว 1-2 ครั้ง หรือประมาณ 0.25-0.5% มาที่ 1.75-2.0%  ซึ่งน่าจะทำให้ ดอกเบี้ยไทยมีโอกาสขยับขึ้นสูงกว่าของสหรัฐ   และน่าจะดึงเงินทุนไหลกลับ หลังจากขายสุทธิต่อเนื่องตลอดปีนี้ อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรอายุ 10 ปีของสหรัฐและไทย ปี 2557 – 2561 
 
 
ราคาน้ำมันดิ่งแรง ต้านทานการไหลเข้าของ Fund Flow
วานนี้ต่างชาติสลับมาขายสุทธิหุ้นในภูมิภาค ด้วยมูลค่า 330 ล้านเหรียญ (หลังซื้อสุทธิในวันก่อนหน้า) โดยเป็นการขายสุทธิถึง 4 ประเทศ เริ่มจากตลาดหุ้นไต้หวันถูกขายสุทธิ 189 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิในวันก่อนหน้า) ตามมาด้วยเกาหลีใต้ 76 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิเพียงวันเดียว), อินโดนีเซีย 63 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 3) และฟิลิปปินส์ 12 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 3) ยกเว้นไทยที่ต่างชาติสลับมาซื้อสุทธิเล็กน้อย 10 ล้านเหรียญ หรือ 335 ล้านบาท (หลังจากขายสุทธิ 2 วัน) ต่างกับสถาบันในประเทศที่ขายสุทธิอีก 3.88 พันล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 6 โดยมีมูลค่ารวมสูงถึง 1.38 หมื่นล้านบาท)
Fund Flow หยุดชะงัก เนื่องจากราคาน้ำมัน WTI ที่ปรับตัวลงแรงกว่า 7.3% ในคืนที่ผ่านมา จนเป็นการทำระดับต่ำสุดในรอบ 16 เดือน บวกกับนักลงทุนรอดูผลการประชุม Fed ในคืนนี้ว่ามีแนวโน้มการปรับขึ้นดอกเบี้ยอย่างไรในปี 2562
ข้อมูลแสดงเงินทุนต่างชาติไหลเข้าออกรายเดือนของแต่ละประเทศในภูมิภาค
 
SET Index มีโอกาส rebound…เลือกหุ้นปัจจัยพื้นฐานดี ทีมี Beta สูง 
ท่ามกลางปัจจัยกดดันจากภายนอก ทั้งสงครามการค้า และปัญหาการเมืองในยุโรป  กดดันตลาดหุ้นโลกปรับฐานต่อเนื่องมานาน  ส่งผลให้ SET Index ปรับฐานลง ตั้งแต่ต้นปี 2561 หรือจากยอดสูงสุด 1841 จุด จนถึงปัจจุบันลดลง 14% และหากพิจารณาเฉพาะ 2 สัปดาห์หลัง หลังจากที่จีน-สหรัฐ ประกาศพักรบ การประกาศสงครามทางการ จากวันที่ 4 ธ.ค.จนถึงวานนี้พบว่าดัชนีหุ้นไทยลดลงกว่า 5.3%  จนทำให้ดัชนีปิดหลุดต่ำกว่า 1600 จุด เป็นครั้งแรกในรอบเกือบ 6 เดือน อย่างไรก็ตาม ระดับดัชนีปัจจุบัน พบว่า มีค่า Expected P/E ปี 2561 อยู่ที่ราว 14.7 เท่า และลดลงเหลือ 14.1 เท่านั้นในปี 2562 ซึ่งถือว่าเป็นระดับที่ไม่สูงเมื่อเทียบกับตลาดหุ้นเพื่อนบ้าน 
ประกอบกับเชื่อว่าแรงขายต่างชาติลดลง และพร้อมจะกลับมาซื้อหุ้นไทยและเอเชีย หลังจากจากที่ผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐลดลงมาใกล้กับของไทย ดังกล่าวข้างต้น น่าจะหนุนให้เห็นแรงซื้อต่างชาติกลับเข้ามาตลาดหุ้นไทยชัดเจนในปี 2562 และในสัปดาห์นี้คาดว่าน่าจะได้เห็นการ Rebound หรือฟื้นตัวของ SET Index  
ฝ่ายวิจัยจึงทำการคัดกรองหุ้นด้วยวิธีเชิงปริมาณ โดยเลือกหุ้นที่ปรับลดลงแรง แต่มีปัจจัยพื้นฐานดี, เป็นหุ้นที่ฝ่ายวิจัยแนะนำ ซื้อ, มี upside สูง, ผลประกอบการมีแนวโน้มเติบโต และมีค่า Beta ที่สูงกว่า 1 เพื่อคาดหวังการฟื้นตัว rebound ที่แรงกว่าตลาดฯ  เน้นหุ้น Domestic เช่น KBANK, AMATA, WHA, ROBINS, BJC, CPALL, TASCO, CK, THANI เป็นต้น  
รายชื่อหุ้นที่ปรับลดลงแรงในช่วง SET Index ปรับฐาน 
 
ภรณี ทองเย็น
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
 ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
 โยธิน ภูคงนิล
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
เจิดจรัส แก้วเกื้อ
   ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร
ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!